วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน : โรงเรียนบ้านหนองลีวิทยาคม

           การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน หลังจากที่ได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาจนได้ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์แล้ว การเขียนรายงานการวิจัยโดยทั่วไปมีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปผลการวิจัยเผยแพร่ ให้ผู้สนใจได้ศึกษา รับรู้ นำรูปแบบวิธีการดำเนินงานและผลการวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติงาน รวมทั้งเพื่อเสนอเป็นผลงานทางวิชาการสำหรับขอเลื่อนและกำหนดตำแหน่งให้สูงขึ้นด้วย แต่การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนไม่ได้ให้ความสำคัญกับวัตถุประสงค์ดังกล่าว แต่เป็นการเขียนเพื่อบันทึกรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับวิธีการหรือนวัตกรรมที่คิดค้นแสวงหามาใช้ในการแก้ปัญหา
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต


          การเรียนการสอนของตนเอง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครูด้วยกัน องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยในชั้นเรียนไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงเป็นทางการหรือเป็นสากลได้ เพราะเป็นองค์ความรู้ที่ใช้ได้กับกลุ่มเป้าหมายจำนวนน้อยที่ไม่ได้เป็นตัวแทนของประชากรโดยทั่วไป ตลอดจนวิธีการดำเนินการวิจัยก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับความเป็นทางการ หรือความเป็นสากลมากนัก ดังนั้น ความเชื่อถือได้ของการวิจัยในชั้นเรียน จึงมักไม่เป็นที่ยอมรับของนักวิจัยหรือนักวิชาการโดยทั่วไปเท่าที่ควร นอกจากว่าครูผู้ทำการวิจัยในชั้นเรียนจะพยายามปรับเปลี่ยนวิธีดำเนินงานให้มีความเป็นสากล และมีความน่าเชื่อถือได้มากขึ้น

องค์ประกอบของรายงานการวิจัยในชั้นเรียน


โดยทั่วไปแล้วในรายงานการวิจัยในชั้นเรียนของครู ประกอบด้วย
     1) วัตถุประสงค์ของการวิจัย
     2) วิธีการดำเนินการวิจัย
     3) ผลการวิจัย
     4) ข้อสังเกตหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม
     5) สิ่งที่ต้องศึกษาต่อไป ประเด็นที่น่าสนใจ และแนวทางในการวิจัยต่อไป
หรือควรประกอบด้วย
     1) บทนำ (ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา และวัตถุประสงค์ของการวิจัย)
     2) แนวคิดที่สำคัญ (และสมมุติฐาน) ของการวิจัย
    3) วิธีดำเนินการวิจัย (ตัวแปร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือ และวิธีการเก็บข้อมูล)
    4) การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมาย
    5) สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ


          จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบของรายงานการวิจัยในชั้นเรียนมีลักษณะที่ไม่ยึดรูปแบบของรายงานการวิจัยโดยทั่วไปมากนัก รายงานเฉพาะประเด็นที่สำคัญเท่านั้น สุวิมล ว่องวาณิช (2543 : 182) ได้สรุปว่า การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนไม่ใช่การวิจัยที่ยากเกินความสามารถของครู ทุกคนสามารถทำได้ถ้ามีความมุ่งมั่นที่จะทำ และเมื่อตัดสินใจที่จะทำแล้ว ก็ไม่ต้องกังวลว่าวิธีการวิจัยที่ใช้จะไม่ถูกต้องตามหลักวิชา เพราะหลักการของการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนคือการทำวิจัยเพื่อนำผลไปแก้ปัญหา เมื่อใดที่ปัญหาในห้องเรียนหมดไป ครูนักวิจัยไม่ต้องกังวลหรือสงสัยว่าวิธีการแก้ปัญหาที่เลือกขึ้นมาใช้ มีอิทธิพลส่งผลให้ปัญหาหมดไปจริงหรือไม่ ไม่ต้องกลัวการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับวิธีวิทยาการวิจัย การทำวิจัยคือการแก้ปัญหา ไม่ใช่การสร้างหรือทดสอบความแกร่งของทฤษฎี ดังนั้นเพื่อให้มีความเป็นไปได้ในการเขียนรายงานการวิจัยของครู
          ซึ่งไม่ยากเกินไปจนทำไม่ได้ แต่ก็ไม่ง่ายเกินไปจนเชื่อถือหรือยอมรับไม่ได้ ภายใต้แนวคิดที่ว่า ถ้ารายงานการวิจัยในชั้นเรียนของครูเป็นรายงานที่ให้ความรู้ใหม่ในการแก้ปัญหา และครูใช้กระบวนการวิจัยที่เชื่อถือได้ รายงานการวิจัยในชั้นเรียนของครูก็เป็นรายงานการวิจัยที่ควรยอมรับได้ การเขียนรายงานวิจัยในชั้นเรียนจึงควรมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
1. ชื่อเรื่องการวิจัย
2. ปัญหาและความสำคัญของปัญหา
3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
4. วิธีการวิจัย
     4.1 กลุ่มเป้าหมาย
     4.2 วิธีการหรือนวัตกรรมที่ใช้
     4.3 วิธีการรวบรวมข้อมูล
     4.4 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
     4.5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
5. สรุปและสะท้อนผล


          รายละเอียดการดำเนินงานตามองค์ประกอบต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ ครูได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติมาเป็นอย่างดีแล้วจากบทที่ 2 ดังนั้น จึงไม่อยู่นอกเหนือศักยภาพของครูที่จะนำมาเขียนรายงาน
การวิจัยในชั้นเรียนของครูได้ อย่างไรก็ตาม หากคณะครูได้ร่วมกันปลดปล่อยศักยภาพของตน
ในฐานะคนในให้ออกมาอย่างเต็มที่ และเป็นอิสระจากคนนอกในการตัดสินใจแล้ว งานวิจัยของครูก็จะมีคุณค่ามากขึ้น




หลักการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน


การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนให้น่าเชื่อถือและยอมรับได้ ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
     1. ปัญหาที่นำมาวิจัยต้องเป็นปัญหาที่แท้จริง มีข้อมูลชัดเจนว่าเป็นปัญหา ไม่ใช่เป็นเพียงสาเหตุของปัญหา เป็นปัญหาที่สามารถหาคำตอบได้ด้วยการวิจัยและเป็นองค์ความรู้ใหม่
     2. ชื่อเรื่องการวิจัยหรือชื่อปัญหาวิจัยต้องมีความกะทัดรัด และชัดเจนในตัวของมันเอง เฉพาะเจาะจงและน่าสนใจ คำว่า การศึกษาเกี่ยวกับ การวิจัย การทดลอง การวิเคราะห์ การสำรวจ หรือการค้นหา ก็ตาม คำเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องใช้
     3. วัตถุประสงค์ของการวิจัยควรใช้ภาษาที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่วกวน หลีกเลี่ยงการใช้คำซ้ำซ้อน นำไปสู่การตั้งสมมุติฐานและสามารถทำการทดสอบได้
     4. วิธีการวิจัยมีความถูกต้องมีข้อมูลครบถ้วนและถูกต้องตามความเป็นจริง เครื่องมือ
ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และผลการวิเคราะห์ข้อมูลมีความเที่ยงตรง
     5. การสื่อความหมายตั้งแต่ต้นจนจบมีความชัดเจน สอดคล้องต่อเนื่อง ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ดี


การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน


          การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเกิดขึ้นจากการค้นคว้าทดลองแสวงหาความจริงเชิงวิทยาศาสตร์อย่างใกล้ชิดในสถานการณ์จริงของครูในชั้นเรียน หรือในโรงเรียน ไม่มีรูปแบบการเขียนรายงานที่เป็นสากล เน้นรูปแบบที่เรียบง่าย ใช้การบรรยายเป็นหลักในการนำเสนอข้อค้นพบที่เป็นองค์ความรู้ใหม่จากการแก้ปัญหา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าครูผู้วิจัยจะมีความสามารถในการบันทึกรายละเอียดขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการวิจัยได้มากน้อยหรือดีเพียงใด ดังนั้นการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนที่มีความเป็นไปได้ และอยู่ในวิสัยที่ครูผู้สอนโดยทั่วไปจะทำได้ จึงควรมีโครงสร้างและองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้


ชื่อรายงาน.............................................................................................................
ปัญหา : ...................................................................................................................
สาเหตุ
1. ..............................................................................................................
2. ..............................................................................................................
3. ..............................................................................................................
วัตถุประสงค์
เพื่อ............................................................................................................
วิธีการวิจัย
1. กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนชั้น......ภาคเรียนที่......ปีการศึกษา.....จำนวน.......คน
2. วิธีการหรือนวัตกรรมที่ใช้
     2.1 ชื่อนวัตกรรม...............................จำนวน...........ชุด/เรื่อง/หน่วย ดังนี้
          2.1.1 ...........................................................................................
          2.1.2 ...........................................................................................
          2.1.3 ...........................................................................................
2.2 แผนการสอน เรื่อง......................................................................
2.3 เครื่องมือวัดผลและรวบรวมข้อมูล
           2.3.1 ...........................................................................................
          2.3.2 ...........................................................................................
          2.3.3 ...........................................................................................
3. วิธีการรวบรวมข้อมูล
     3.1 .....................................................................................................
     3.2 .....................................................................................................
     3.3 .....................................................................................................
4. วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
     4.1 .....................................................................................................
     4.2 .....................................................................................................
     4.3 .....................................................................................................
5. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
     5.1 .....................................................................................................
     5.2 .....................................................................................................
     5.3 .....................................................................................................
สรุปและสะท้อนผล
................................................................................................................
................................................................................................................
................................................................................................................



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น